ทำร้านอาหารต้องมีพนักงานกี่คน มีการคำนวณเงินเดือนพนักงานอย่างไร
การบริหารจัดการร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จ เจ้าของร้านจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการคำนวณเงินเดือนพนักงานอย่างเหมาะสม เพราะเป็นต้นทุนร้านอาหารหลักที่ส่งผลต่อกำไรขาดทุนโดยตรง ซึ่งการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดี จ่ายค่าแรงที่เหมาะสม ไม่เพียงช่วยควบคุมต้นทุนได้เท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย บทความนี้เราจึงจะพาเจ้าของร้านอาหารไปเจาะลึกถึงวิธีการคำนวณเงินเดือนพนักงาน การจัดสรรตำแหน่งงาน เพื่อให้การบริหารต้นทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การคำนวณเงินเดือนพนักงานต้องคิดจากต้นทุนอะไร ต้นทุนร้านอาหารที่สำคัญที่สุดอันดับสองรองจากวัตถุดิบคือต้นทุนด้านบุคลากร การคำนวณเงินเดือนพนักงานจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยทั่วไปต้นทุนด้านบุคลากรควรอยู่ที่ 15-20% ของยอดขาย หากร้านมียอดขายสูงขึ้น สัดส่วนนี้จะลดลงตามลำดับ สำหรับร้านอาหารที่เป็นเชนที่มีการบริหารจัดการที่ดี อาจควบคุมต้นทุนให้อยู่ที่ 13-18% ได้ โดยในการคำนวณเงินเดือนพนักงานเราต้องคำนึงถึงประเภทการจ้างงาน ทั้งพนักงานประจำและพาร์ทไทม์เพราะมีผลต่อต้นทุนที่แตกต่างกัน การมีพนักงานประจำทั้งหมดอาจทำให้ต้นทุนสูงเกินไปในช่วงที่ยอดขายตกต่ำ เช่น ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา สัดส่วนต้นทุนพนักงานอาจพุ่งสูงถึง 30-40% ของยอดขาย วิธีเลือกพนักงานร้านอาหารให้เหมาะสมกับร้าน การเลือกพนักงานที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการคำนวณเงินเดือนพนักงานให้อยู่ในงบประมาณ การจัดสรรตำแหน่งและกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจนจะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และป้องกันการจ้างพนักงานเกินความจำเป็น จัดตำแหน่งงานแต่ละช่วงเวลา การจัดตำแหน่งงานในร้านอาหารต้องวิเคราะห์จากช่วงเวลาการขายเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นช่วงเช้า กลางวัน และเย็น แต่ละช่วงอาจต้องการพนักงานไม่เท่ากัน เช่น ช่วงกลางวันที่เป็นเวลาพักทานอาหารของออฟฟิศ อาจต้องการพนักงานเสิร์ฟมากกว่าช่วงบ่าย ขณะที่ช่วงเย็นอาจต้องเพิ่มพนักงานในครัวเพื่อรองรับออเดอร์ที่มากขึ้น การจัดสรรตำแหน่งงานที่เหมาะสมจะช่วยให้การคำนวณเงินเดือนพนักงานมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างไม่ติดขัด ระบุหน้าที่หลักหน้าที่รองของแต่ละตำแหน่ง การกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความคุ้มค่าของการจ้างงาน โดยแต่ละตำแหน่งควรมีการระบุทั้งงานหลักและงานรองที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พนักงานเก็บเงินมีหน้าที่หลักคือดูแลการชำระเงิน แต่ในช่วงที่ลูกค้าน้อยอาจช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร หรือพนักงานทำความสะอาดนอกจากดูแลความสะอาดทั่วไป […]